MIT#3
 วันอังคารที่ 13 พ.ย. 2544

การประมวลผลข้อมูล (Dasta Processing) คือ การนำข้อมูลเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นผลลัพธ์ อาจแสดงผลโดยทันทีหรือจัดเก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในภายหลัง


การใช้งานคอมพิวเตอร แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ
    1. ด้านวิทยาศาสตร์  เป็นการทำงานที่ซับซ้อน การแก้ปัญหายากๆ
    2. ใช้งานส่วนตัว เป็นการบันทึกช่วยจำ การค้นหา
    3. งานด้านสำนักงาน เป็นงานที่เกี่ยวกับการจัดการเอกสารและสำนักงาน

ลักษณะการใช้ประมวลผลคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็น
    1.  Batch Processing เป็นการประมวลผลโดยการจัดเก็บข้อมูลไว้ก่อนยังไม่นำเข้าUpdateข้อมูลในทันที

    2. Interactive Processing เป็นการประมวลผลแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ตามความสามารถของระบบตามที่ออกแบบไว้

    3 Online Processing หมายถึงการประมวลผลในแบบที่ผู้ใช้อยู่สถานที่ซึ่งห่างไกลจากตัวเครื่องและใช้งานเครื่องผ่านเครื่องปลายทาง
    4. Realtime Processing คือการประมวลผลแบบทันทีทันใด เช่นระบบควบคุมต่างๆ

สารสนเทศกับการตัดสินใจ
  
ในองค์กรต่างๆ สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ
    1.แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 
    2.แผนการบริหาร 
    3.แผนปฏิบัติการ
    4. ระดับผู้ปฏิบัติการ


 
    ระบบประมวลผลข้อมูล (Data processing System) 

เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการขั้นพื้นฐาน ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ เท่านั้น (ระดับที่ 3- 4)

    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) 

คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารใช้ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทมธิภาพ ช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง(ระดับที่ 2 - 3)


    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Dicision Support Systems ) 

ระบบที่พัฒนาขึ้นจากMISอีกระดับหนึ่ง  เพื่อใช้วางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์(ระดับที่ 1 - 2) การตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง  


    ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systms )  

คือระบบที่สนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ (ระดับที่1)


    ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) มีส่วนที่คล้ายกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น 

 ระบบนี้จะแตกต่างกับระบบอื่น เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge)

 และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)



 Data Communications and Networking

Telecommunication ระบบอุปกรณ์และเทคโนโลยที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งข่าวสารและผู้รับซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
Data-communicationsคือระบบอุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรคมนาคม


องค์ประกอบของ Data Communications
   1. Sender
  ผู้ส่งข่าวสาร
   2. Receiver ผู้รับข่าวสาร
    3. Medium   ตัวกลางสำหรับสื่อสาร 
    4. Message ข้อความที่สื่อสาร
วิธีการส่งข้อมูลผ่านในช่องทางสื่อสารมี 2 แบบคือ แบบขนาน และแบบอนุกรม


สัญญาณ มี 2 รูปแบบ ได้แก่  สัญญาณ Analog และสัญญาณ Digital
ลักษณะการส่งสัญญาณ แบ่งเป็น
    1. Simplex - ส่งได้ทางเดียว

    2. Half Duplex - ส่งได้ 2 ทางแต่ต้องสลับกัน

    3. Full Duplex - ส่งได้ 2 ทางพร้อมกัน


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เกิดประโยชน์ทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลกันใช้ทรัพยากรร่วมกันได้และที่สำคัญคือทำงานร่วมกันได้


ประเภทของ Computer Network
    1. Local area Network (LAN)
    2. Campus area Network (CAN)
    3. Metropolitan area Network (MAN)
    4. Wide area Network (WAN)
    5. Value Added Network (VAN)

 

 

 

1